วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 2


บทที่2 สารสนเทศ

จากที่กล่าวในบทที่ 1 จะเห็นได้ว่า กระบวนการทางธุรกิจ ของระบบสารสนเทศมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องสนับสนุนธุรกิจสามารถให้การดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการก่อกำเนิดสารสนเทศตามสายงาน ทั้งในระดับปฎิบัติการและระดับบริหาร และมีการจำแนกระบบสารสนเทศได้หลายรูปแบบ ทั้งในส่วนสารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ และระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร ดังนั้น หากองค์กรใคมีการนำระบบสารสนเทศ มาช้ประกอบการดำเนินงานทางธุรกิจ ทั้งในเชิงตั้งและเชิงรุก องค์กรนั้นสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ใน บทนี้ขอกล่าวถึงรายละเอียด ของระบบสารสนเทศในหัวข้อความหมาย แบบจำลองระบบสารสนเทศ บทบาทของระบบสารสนเทศ วิวัฒน์การของระบบสารสนเทศและระบบสารสนเทศบนเว็ป เพื่อพื้นฐานการเรียนรู้ระบบประยุกต์ด้านต่างๆที่นำมาใช้ในธุรกิจต่อไป

ความหมาย

1      ระบบ หมายถึง กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ตามหลักความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารงานประเทศ

2      ระบบสารเทศ หมายถึง เซต หรือการรวมตัวของกระบวนการหลายกระบวนการ สำหรับงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลเพื่อปรับรูปแบบของข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ ตลอดจนการกระจายสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลสู่ผู้ใช้ระบบเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจ

แ      บบจำลองระบบสารสนเทศ

1             ผู้ใช้ชั้นปลาย คือ ผู้ใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ ซึ่งมีความต้องการใช้สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์การประมวลผลของระบบสารสนเทศโดยปกติประกอบด้วยผู้ใช้ 2 กลุ่ม

        กลุ่มที่ ผู้ใช้ภายนอก

-       กลุ่มที่ ผู้ใช้ภายใน

        ต้นทางข้อมูล หรือ แหล่งข้อมูล คือ ธุรกรรมทางการเงินที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน

       -ส่วนที่1 ต้นทางข้อมูลภายนอก

       -ส่วนที่2 ต้นทางข้อมูลภายใน

3      การรวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรก ซึ่งมีความสำคัญที่สุดของการดำเนินการภายในระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ด้านการรับข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆให้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล ครบถ้วนสมบูรณ์ และปราศจากข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้นโดยมีการสร้างระบบป้องกันความผิดพลาดจากการรับข้อมูลเข้า ส่งผลให้รายงานที่มีผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือและนำไปใชการประกอบการตัดสินใจได้อย่งถูกต้อง ในการออกแบบกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงข้อมูลที่เป็นจริงและตรงประเด็นมีประสิทธิภาพในส่วนของการข้อมูลที่ตรงประเด็นทำได้โดยการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศเป็นหลัก

4     การประมวลผลข้อมูล หลังจากที่ทำการรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้น จะต้องทำการประมวลผลข้อมูลทั้งในรูปแบบที่ง่ายและรูปแบบที่มีความซับซ้อน เช่น มีการใช้ขั้นตอนวิธีทางคณิตศาสตร์ของตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นมาใช้เพื่อจัดตารางการผลิต หรืออาจใช้เทคนิคทางสถิติสำหรับการพยากรณ์ยอดขายเป็นต้น โดยจำแนกการประมวลผลได้ 2 รูปแบบคือ

      รูปแบบที่1 การประมวลผลแบบกลุ่ม

       รูปแบบที่2 การประมวลผลแบบทันที

5     การจัดการฐานข้อมูล ฐานข้อมูลขององค์การคือ หน่วยเก็บข้อมูลทางายภาพสำหรับข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งอาจเก็บข้อมูล ระเบียน และแฟ้มข้อมูล ที่เรียงลำดับจากหน่วยเล็กที่สุดไปทาที่ใหญ่ที่สุด ในส่วนการจัดการฐานข้อมูล จะเกี่ยวข้องงานขั้นพื้นฐาน 3 งาน คือ การเก็บข้อมูล การค้นคืน การลบ ข้อมูล ในส่วนการจัดเก็บ จะเกี่ยวข้องกับการสร้าง กุญแจของข้อมูลใหม่ และจัดเก็บข้อมูลนั้นในตำแหน่งพื้นที่ซึ่งเหมาะสม ส่วนการค้นคืนนั้นจะทำการค้นหาตำแหน่งของข้อมูลและสกัดระเบียนข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ หลังจากนั้น จึงทำการประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลภายในฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการลบข้อมูล จะทำการลบข้อมูลที่ผู้ใช้ต้งการ หรือลบข้อมูลที่ความซ้ำซ้อนอย่างถาวร

6    การก่อกำเนิดสารสนเทศ ประกอบด้วยกระบวนการแปลโปรแกรมการจัดข้อมูล การกำหนดรูปแบบ รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศต่อผู้ใช้ โดยสาระสนเทศที่ได้มักอยู่ในรูปแบบของเอกสารปฎิบัติงาน เช่น ใบสั่งของ รายงาน หรือ แม้แต่ข่าวสารบนหน้าคอมพิวเตอร์เป็นต้น อนึ่ง ควรคำนึงถึงคุณลักษณะของสารสนเทศที่ได้รับจากระบบด้วย ในขั้นนี้ จึงควรรวมถึงกระบวนการควบคุมความมั่นคงของข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าสารสนเทศที่ได้รับมีความถูกต้องและเชื่อถือได้และมีการนำไปใช้อย่างถูกต้องโดยบุคคลที่บุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น การควบคุมข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรับข้อมูลเข้า การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ตลอดจนมีการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นดังนั้นสารสนเทศที่ได้จากระบบ จึงเป็นสารสนเทศซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี และสามารถนำไปใช้ในการจัดการ และการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7      ผลป้อนกลับ จะอยู่ในรูปแบบของรายงานที่เป็นผลลัพธ์ ซึ่งถูกส่งกลับไปยังระบบในฐานะของต้นทางข้อมูลภายในหรือภายนอกก็ได้ และยังอาจถูกนำไปใช้ในฐานะข้อมูลเริ่มต้นหรือข้อมูลสำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ เช่น รายงานแสดงสถานะของสินค้าคงเหลือ จะถูกใช้เพื่อส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมสินค้าคงเหลือทราบยอดขายที่ขาดหายไปหรือยอดขายสินค้าที่ต่ำกว่าจุดสั่งซื้อเพิ่ม

       บทบาทของสารสนเทศ

        1.โซ่คุณค่า

        2. ระบบคุณค่า

        3.การสนับสนุนงานขององค์การ

        4.การเพิ่มมูลค่าให้องค์การ

         การจำแนกระบบสารสนเทศ

         1.ระบบสารสนเทศตามหน้าที่

          2.ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ
 
         3.ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ



       ระบบสารสนเทศบนเว็บ

       หมายถึงระบบประยุกต์ที่ตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่ายการเข้าถึงข้อมูลทำาได้โดยใช้ การสื่อสารหลักWeb Browser การเชื่อมโยงโปรแกรมกับลูกข่ายโดยใช้ โพรโตคอล โดยเนื้อหาข้อมูลจะถูกปรับให้เป็นปัจจุบันเสมอ และสามารถเข้าถึงข้อมูลบนเว็บด้วยวิธีสากล โดยอาศัยเครือข่าย

          เทคโนโลยีของระบบบนเว็บ มีดังนี้

1     อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในลักษณะเครือข่ายสาธารณะที่ถูกนำ มาใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้หลายคน ใช้ชุดโพรโทคอล ทีซีพี/ไอพี เพื่อสร้างมาตรฐานการใช้งานร่วม และยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลทั่วทุกมุมโลก

2     อินทราเน็ต คือ การใช้เทคโนโลยีเว็บสำาหรับการสร้างเครือข่ายส่วนตัว และจำกัดการใช้งาน

      เฉพาะภายในองค์การใช้เครือข่ายเฉพาะที่ (LAN)ร่วมกับโพรโทคอลทีซีพี/ไอพี นอกจากนี้ยังมีการใช้เกตเวย์ด้านความมั่นคงเช่น Firewall เพื่อแบ่งแยกการใช้งานอินทราเน็ต จากอินเทอร์เน็ตและมีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตกับเว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ ได้ด้วย

3     เว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ คือ เว็บไซต์ที่ติดตั้งเกตเวย์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงของสารสนเทศจากจุดเพียงจุดเดียว ที่จัดอยู่ในฐานะกระบวนการหลัก(Corecasting) ซึ่งมุ่งเน้นการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ และยังให้การสนับสนุนด้านสารสนเทศส่วนตัว สำหรับลูกค้าหรือลูกจ้างเป็น

รายบุคคล

4. เอกซ์ทราเน็ต เป็นตัวเสริมกลไกด้านความมั่นคงและฟังก์ชันการใช้งาน โดยถูกนำม เชื่อมต่อกับอินทราเน็ตผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีการสร้างรูปแบบเครือข่ายเสมือนจริงที่ อนุญาตให้ผู้ใช้ทางไกล เชื่อมต่อระบบกับอินทราเน็ตขององค์การได้ โดยใช้หลักการ ควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เช่น การพิสูจน์ตัวจริง และการเข้ารหัสลับเข้าช่วย

5    ระบบอีคอมเมิร์ซบนเว็บ เป็นการทำาธุรกรรมการซื้อขายภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งใน

         รูปแบบ B2B, B2C หรือ C2C แต่่การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นรูปแบบ

         B2B ของการจัดซื้อวัตถุดิบ และด้วยจำนวนครั้งของการเข้าถึงข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทำาให้มี

        การปรับปรุงในด้านการสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้การพัฒนาระบบการจ่ายชำระหนี้ที่ดีและ

         การเพิ่มความมั่นคงของข้อมูล

        สรุป

       การรวมตัวส่วนประกอบต่างๆอย่างเหมาะสม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการจัดการข้อมูลเกิดขึ้น ภายใต้กิจกรรมต่างๆ ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การโดยจำแนกระบบสารสนเทศออกเป็นระบบ สารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ และระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ โดยมุ่งเน้้นการบูรณาการระบบสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยอาศัยเทคโนโลยีของระบบบนเว็บ (Web-base System)

 โดย  ดวงดาว จำปาทอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น