วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สรุป บทที่ 4


สรุปบทที่ 4

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ

ข้อมูล (Data) หมายถึงค่าความจริง ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น เช่น ชื่อพนักงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์, จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ซึ่งข้อมูลชนิดต่างๆ เหล่านี้ใช้ในการนำเสนอค่าความจริงต่างๆ โดยค่าความจริงที่ถูกนำมาจัดการและปรับแต่งเพื่อให้มีความหมายแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสารสนเทศ

สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ประเภทของสารสนเทศขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น จำนวนยอดขายของตัวแทนจำหน่ายแต่ละคนในเดือนมกราคมจัดเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลผลรวมกันทำให้ได้ยอดขายรายเดือนของเดือนมกราคม ทำให้ผู้บริหารสามารถนำยอดขายรายเดือนมาพิจารณาว่ายอดขายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ได้ง่ายขึ้น ยอดขายรายเดือนนี้จึงจัดเป็นสารสนเทศ หรือตัวอย่าง เช่น ตัวเลข 1.1, 1.5, และ 1.6 จัดเป็นข้อมูลตัวเลข เนื่องจากเป็นค่าความจริงซึ่งยังไม่สามารถแปลความหมายใดๆ ได้แต่ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ่งบอกความหมายของข้อมูลได้มากขึ้น เช่น เมื่อกล่าวว่า ตัวเลขเหล่านี้คือยอดขายประจำเดือนมกราคม กุมภาพันธ์และมีนาคม โดยมีหน่วยเป็นหลักล้าน จะทำให้ตัวเลขทั้ง 3 มี ความหมายเกิดขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ายอดขายเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมมีค่าเท่ากับ 1.4 ล้าน จัดเป็น สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากข้อมูลตัวเลขทั้ง 3


การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

แนวคิดของระบบและการทำตัวแบบระบบ (System) หมายถึงกลุ่มส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยส่วนประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างไร เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยระบบแต่ละระบบถูกจำกัดด้วยขอบเขต (System Boundary) ซึ่งจะเป็นตัวแยกระบบนั้นๆ ออกจากสิ่งแวดล้อม ดังแสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ







ประเภทของระบบ
ระบบสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้หลายกลุ่ม ดังนี้

1. ระบบอย่างง่าย(Simple) และระบบที่ซับซ้อน (Complex)
- ระบบอย่างง่าย (Simple) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบน้อยและความสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
- ระบบที่ซับซ้อน (Complex) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบมากหลายส่วน แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก
2. ระบบเปิด(Open) และระบบปิด (Close)
- ระบบเปิด (Open) คือ ระบบที่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
- ระบบปิด (Close) คือ ระบบที่ไม่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
3. ระบบคงที่ (Static) และระบบเคลื่อนไหว (Dynamic)
- ระบบคงที่ (Static) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเวลาผ่านไป
- ระบบเคลื่อนไหว (Dynamic) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ตลอดเวลา
4. ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) และระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive)
- ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) คือระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
- ระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive) คือระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
5. ระบบถาวร (Permanent) และระบบชั่วคราว (Temporary)
- ระบบถาวร(Permanent) คือระบบที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลายาวนาน
- ระบบชั่วคราว(Temporary) คือระบบที่มีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ



ประสิทธิภาพของระบบ

ประสิทธิภาพของระบบสามารถวัดได้หลายทาง ได้แ

ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือการวัดสิ่งที่ถูกผลิตออกมา หารด้วยสิ่งที่ถูกใช้ไป สามารถแบ่งช่วงจาก 0 ถึง 100% ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของเครื่องมอเตอร์เครื่องหนึ่งคือพลังงานที่ผลิตออกมา (ในรูปของงานที่ทำเสร็จ) หารด้วยได้พลังงานที่ใช้ไป (ในรูปของไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิง) เครื่องมอเตอร์บางเครื่องมีประสิทธิภาพ 50% หรือน้อยกว่า เนื่องจากพลังงานสูญเสียไปในการเสียดทาน และกำเนิดความร้อน
ประสิทธิผล (Effectiveness) คือการวัดระดับการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของระบบ สามารถคำนวณได้ด้วยการ หารสิ่งที่ได้รับจากการประสบผลสำเร็จจริง ด้วยเป้าหมายรวม เช่น บริษัทหนึ่งมีเป้าหมายในการลดชิ้นส่วนที่เสียหาย 100 หน่วย เมื่อนำระบบการควบคุมใหม่มาใช้อาจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ ถ้าระบบควบคุมใหม่นี้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนที่เสียหายได้เพียง 85 หน่วย ดังนั้นระดับของประสิทธิผลของระบบควบคุมนี้จะเท่ากับ 85%

อ้างอิง จรรยา  จันทอง

โดย ดวงดาว  จำปาทอง

แบบฝึกหัดบทที่ 4


แบบฝึกหัดบทที่4

1. จงอธิบายความสัมพันธ์ของระบบประมวลผลธุรกรรม และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

= มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากระบบประมวลผลธุรกรรมหรือทีพีเอส คือ จุดขององค์ประกอบต่างๆ เช่น บุคลากร กระบวนการเป็นต้นซึ่งระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหรือ เอ็มไอเอส คือระบบที่ใช้สนับสนุนการทำงานของผู้จัดการระดับล่า ระดับกลางเพื่อนำเสนอรายงาน เป็นต้น ซึ่งทั้งสองระบบนี้จะทำการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกรวมกัน

2. จงยกตัวอย่าง องค์ประกอบด้านการพัฒนากลยุทธ์ของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

                = นำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดจำเป็นต้องมีการวางแผนหรือการนำกลยุทธ์ต่างๆมาใช้ในการโฆษณาเป็นต้น

3. หากท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านห้องแล็บของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ท่านจะพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีทางการจัดการประเภทใด เพราะเหตุใด

                = ระบบผู้เชี่ยวชาญ เนื่องจากเป็นระบบที่มีโครงสร้างทางการจัดการที่ดีเหมาะสำหรับที่จะนำมาใช้ในโรงพยาบาลเพราะถ้าหากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบนี้เกิดตายไประบบก็ยังสามารถใช้ได้ตามปกติ อีกทั้งยังใช้ในด้านการติดตาม งานระบบที่ซับซ้อนได้และสามารถพัฒนาแผนการตลากสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้อีกด้วย

4. ระบบสารสนเทศประเภทใดที่จัดเป็นระบบสารสนเทศระดับสูง ซึ่งมีการนำข้อมูลจากระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาใช้เพื่อการประมวลผลสารสนเทศเชิงกลยุทธ์

                = ระบบสนับสนุนผู้บริหาร

5. จงจำแนกประเภทของระบบสารสนเทศทางธุรกิจของธุรกิจโทรคมนาคม

                = 1. การรับส่งข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีแบบ Packet – switched

                2. บริการโทรสาร

                3. บริการเปลี่ยนรหัสหรือรูปแบบข้อมูลเป็นต้น

6. เพราะเหตุใด ธุรกิจจึงต้องมีการพัฒนาด้านระบบสารสนเทศตามยุคสมัย

                = เนื่องจากในปัจจุบันมีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเป็นจำนวนมากมนุษย์ล้วนแล้วแต่หาสิ่งที่นำพาความสะดวดสบายมาใช้ในชีวิตประจำวันเปรียบได้เสมือนกับธุรกิจที่จะต้องมีการพัฒนาอยู่เสมอเพื่อที่จะได้นำสินค้าหรือบริการออกมาจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการของลูกค่อยู่เสมอ

7. การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ มักจะมีความเกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่อย่างไร จงอธิบาย

                = มีความเกี่ยวข้องกันคือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการและการตัดสินใจ คือ การนะเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารให้มีความถูกต้องแลแม่นยำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจทางด้านไหนก็ตามซึ่งมีลักษณะที่คล้ายกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการพาณิชย์เคลื่อนที่นั่นเอง เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นการทำธุรกรรมด้านต่างๆโดยอาศัยระบบสารสนเทศมาช่วยในการทำธุรกิจเช่นกัน

8. บทบาทของผู้บริหารด้านข้อมูลข่าวสารและด้านการตัดสินใจมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

                = มีความสัมพันธ์กันเนื่องจากในกรณีที่ผู้บริหารเกิดความต้องการตัดสินใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นจะทำการตัดสินใจเลยไม่ได้จะต้องทำการศึกษาข้อมูลนั้นก่อนที่ทำการตัดสินใจ

9. เทคโนโลยีความจริงเสมือนมักถูกนำมาใช้กับงานด้านใดบ้าง

                = มีการฝึกอบรมในหลายสาขา เช่น การทหาร การแพทย์ การศึกษา การประเมิน การออกแบบ การศึกษาด้านเฮอร์โกโมฟิกส์ เป็นต้น

10. เพราะเหตุใดกลุ่มผู้ตัดสินใจของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มจึงเกิดความเป็นอิสระและกล้าแสดงความคิดเห็นโดยไม่หวั่นเกรงข้อโต้แย้งใดๆ

                = เนื่องจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มได้นำโปรแกรม จีดีเอสมาใช้ในการประชุมโดยที่ไม่ต้องระบุชื่อ ดังนั้นโปรแกรมนี้จึงช่วยให้ผู้นำข้อมูลเกิดความเชื่อมั่นในความเหมาะสมของการประเมิน


บทที่ 2


บทที่2 สารสนเทศ

จากที่กล่าวในบทที่ 1 จะเห็นได้ว่า กระบวนการทางธุรกิจ ของระบบสารสนเทศมักถูกนำมาใช้เป็นเครื่องสนับสนุนธุรกิจสามารถให้การดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการก่อกำเนิดสารสนเทศตามสายงาน ทั้งในระดับปฎิบัติการและระดับบริหาร และมีการจำแนกระบบสารสนเทศได้หลายรูปแบบ ทั้งในส่วนสารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ และระบบสารสนเทศระหว่างองค์กร ดังนั้น หากองค์กรใคมีการนำระบบสารสนเทศ มาช้ประกอบการดำเนินงานทางธุรกิจ ทั้งในเชิงตั้งและเชิงรุก องค์กรนั้นสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จากการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ และสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน ใน บทนี้ขอกล่าวถึงรายละเอียด ของระบบสารสนเทศในหัวข้อความหมาย แบบจำลองระบบสารสนเทศ บทบาทของระบบสารสนเทศ วิวัฒน์การของระบบสารสนเทศและระบบสารสนเทศบนเว็ป เพื่อพื้นฐานการเรียนรู้ระบบประยุกต์ด้านต่างๆที่นำมาใช้ในธุรกิจต่อไป

ความหมาย

1      ระบบ หมายถึง กลุ่มของสิ่งที่มีลักษณะประสานเข้าเป็นสิ่งเดียวกัน ตามหลักความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันด้วยระเบียบของธรรมชาติหรือหลักเหตุผลทางวิชาการ เช่น ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร ระบบจักรวาล ระบบสังคม ระบบการบริหารงานประเทศ

2      ระบบสารเทศ หมายถึง เซต หรือการรวมตัวของกระบวนการหลายกระบวนการ สำหรับงานด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลเพื่อปรับรูปแบบของข้อมูลให้เข้าสู่รูปแบบของสารสนเทศ ตลอดจนการกระจายสารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์จากการประมวลผลสู่ผู้ใช้ระบบเพื่อใช้สำหรับการตัดสินใจ

แ      บบจำลองระบบสารสนเทศ

1             ผู้ใช้ชั้นปลาย คือ ผู้ใช้สารสนเทศที่อยู่ภายในหน่วยงานต่างๆทั้งภายในและภายนอกธุรกิจ ซึ่งมีความต้องการใช้สารสนเทศที่เป็นผลลัพธ์การประมวลผลของระบบสารสนเทศโดยปกติประกอบด้วยผู้ใช้ 2 กลุ่ม

        กลุ่มที่ ผู้ใช้ภายนอก

-       กลุ่มที่ ผู้ใช้ภายใน

        ต้นทางข้อมูล หรือ แหล่งข้อมูล คือ ธุรกรรมทางการเงินที่นำเข้าสู่ระบบสารสนเทศซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน

       -ส่วนที่1 ต้นทางข้อมูลภายนอก

       -ส่วนที่2 ต้นทางข้อมูลภายใน

3      การรวบรวมข้อมูล การรวบรวมข้อมูล เป็นขั้นตอนแรก ซึ่งมีความสำคัญที่สุดของการดำเนินการภายในระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นวัตถุประสงค์ด้านการรับข้อมูลหรือเหตุการณ์ต่างๆให้เข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง สมเหตุสมผล ครบถ้วนสมบูรณ์ และปราศจากข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้นโดยมีการสร้างระบบป้องกันความผิดพลาดจากการรับข้อมูลเข้า ส่งผลให้รายงานที่มีผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือและนำไปใชการประกอบการตัดสินใจได้อย่งถูกต้อง ในการออกแบบกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลควรคำนึงถึงข้อมูลที่เป็นจริงและตรงประเด็นมีประสิทธิภาพในส่วนของการข้อมูลที่ตรงประเด็นทำได้โดยการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้สารสนเทศเป็นหลัก

4     การประมวลผลข้อมูล หลังจากที่ทำการรวบรวมข้อมูลเสร็จสิ้น จะต้องทำการประมวลผลข้อมูลทั้งในรูปแบบที่ง่ายและรูปแบบที่มีความซับซ้อน เช่น มีการใช้ขั้นตอนวิธีทางคณิตศาสตร์ของตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นมาใช้เพื่อจัดตารางการผลิต หรืออาจใช้เทคนิคทางสถิติสำหรับการพยากรณ์ยอดขายเป็นต้น โดยจำแนกการประมวลผลได้ 2 รูปแบบคือ

      รูปแบบที่1 การประมวลผลแบบกลุ่ม

       รูปแบบที่2 การประมวลผลแบบทันที

5     การจัดการฐานข้อมูล ฐานข้อมูลขององค์การคือ หน่วยเก็บข้อมูลทางายภาพสำหรับข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งอาจเก็บข้อมูล ระเบียน และแฟ้มข้อมูล ที่เรียงลำดับจากหน่วยเล็กที่สุดไปทาที่ใหญ่ที่สุด ในส่วนการจัดการฐานข้อมูล จะเกี่ยวข้องงานขั้นพื้นฐาน 3 งาน คือ การเก็บข้อมูล การค้นคืน การลบ ข้อมูล ในส่วนการจัดเก็บ จะเกี่ยวข้องกับการสร้าง กุญแจของข้อมูลใหม่ และจัดเก็บข้อมูลนั้นในตำแหน่งพื้นที่ซึ่งเหมาะสม ส่วนการค้นคืนนั้นจะทำการค้นหาตำแหน่งของข้อมูลและสกัดระเบียนข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการ หลังจากนั้น จึงทำการประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลภายในฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการลบข้อมูล จะทำการลบข้อมูลที่ผู้ใช้ต้งการ หรือลบข้อมูลที่ความซ้ำซ้อนอย่างถาวร

6    การก่อกำเนิดสารสนเทศ ประกอบด้วยกระบวนการแปลโปรแกรมการจัดข้อมูล การกำหนดรูปแบบ รวมทั้งการนำเสนอสารสนเทศต่อผู้ใช้ โดยสาระสนเทศที่ได้มักอยู่ในรูปแบบของเอกสารปฎิบัติงาน เช่น ใบสั่งของ รายงาน หรือ แม้แต่ข่าวสารบนหน้าคอมพิวเตอร์เป็นต้น อนึ่ง ควรคำนึงถึงคุณลักษณะของสารสนเทศที่ได้รับจากระบบด้วย ในขั้นนี้ จึงควรรวมถึงกระบวนการควบคุมความมั่นคงของข้อมูล เป็นต้น เพื่อให้แน่ใจว่าสารสนเทศที่ได้รับมีความถูกต้องและเชื่อถือได้และมีการนำไปใช้อย่างถูกต้องโดยบุคคลที่บุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น การควบคุมข้อมูลจะเริ่มตั้งแต่การรับข้อมูลเข้า การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ตลอดจนมีการเข้าถึงข้อมูลโดยบุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นดังนั้นสารสนเทศที่ได้จากระบบ จึงเป็นสารสนเทศซึ่งมีคุณลักษณะที่ดี และสามารถนำไปใช้ในการจัดการ และการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7      ผลป้อนกลับ จะอยู่ในรูปแบบของรายงานที่เป็นผลลัพธ์ ซึ่งถูกส่งกลับไปยังระบบในฐานะของต้นทางข้อมูลภายในหรือภายนอกก็ได้ และยังอาจถูกนำไปใช้ในฐานะข้อมูลเริ่มต้นหรือข้อมูลสำหรับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ เช่น รายงานแสดงสถานะของสินค้าคงเหลือ จะถูกใช้เพื่อส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมสินค้าคงเหลือทราบยอดขายที่ขาดหายไปหรือยอดขายสินค้าที่ต่ำกว่าจุดสั่งซื้อเพิ่ม

       บทบาทของสารสนเทศ

        1.โซ่คุณค่า

        2. ระบบคุณค่า

        3.การสนับสนุนงานขององค์การ

        4.การเพิ่มมูลค่าให้องค์การ

         การจำแนกระบบสารสนเทศ

         1.ระบบสารสนเทศตามหน้าที่

          2.ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ
 
         3.ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ



       ระบบสารสนเทศบนเว็บ

       หมายถึงระบบประยุกต์ที่ตั้งอยู่บนเครื่องแม่ข่ายการเข้าถึงข้อมูลทำาได้โดยใช้ การสื่อสารหลักWeb Browser การเชื่อมโยงโปรแกรมกับลูกข่ายโดยใช้ โพรโตคอล โดยเนื้อหาข้อมูลจะถูกปรับให้เป็นปัจจุบันเสมอ และสามารถเข้าถึงข้อมูลบนเว็บด้วยวิธีสากล โดยอาศัยเครือข่าย

          เทคโนโลยีของระบบบนเว็บ มีดังนี้

1     อินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกในลักษณะเครือข่ายสาธารณะที่ถูกนำ มาใช้งานร่วมกันระหว่างผู้ใช้หลายคน ใช้ชุดโพรโทคอล ทีซีพี/ไอพี เพื่อสร้างมาตรฐานการใช้งานร่วม และยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลทั่วทุกมุมโลก

2     อินทราเน็ต คือ การใช้เทคโนโลยีเว็บสำาหรับการสร้างเครือข่ายส่วนตัว และจำกัดการใช้งาน

      เฉพาะภายในองค์การใช้เครือข่ายเฉพาะที่ (LAN)ร่วมกับโพรโทคอลทีซีพี/ไอพี นอกจากนี้ยังมีการใช้เกตเวย์ด้านความมั่นคงเช่น Firewall เพื่อแบ่งแยกการใช้งานอินทราเน็ต จากอินเทอร์เน็ตและมีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตกับเว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ ได้ด้วย

3     เว็บศูนย์รวมวิสาหกิจ คือ เว็บไซต์ที่ติดตั้งเกตเวย์ เพื่อควบคุมการเข้าถึงของสารสนเทศจากจุดเพียงจุดเดียว ที่จัดอยู่ในฐานะกระบวนการหลัก(Corecasting) ซึ่งมุ่งเน้นการใช้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ และยังให้การสนับสนุนด้านสารสนเทศส่วนตัว สำหรับลูกค้าหรือลูกจ้างเป็น

รายบุคคล

4. เอกซ์ทราเน็ต เป็นตัวเสริมกลไกด้านความมั่นคงและฟังก์ชันการใช้งาน โดยถูกนำม เชื่อมต่อกับอินทราเน็ตผ่านทางอินเทอร์เน็ตมีการสร้างรูปแบบเครือข่ายเสมือนจริงที่ อนุญาตให้ผู้ใช้ทางไกล เชื่อมต่อระบบกับอินทราเน็ตขององค์การได้ โดยใช้หลักการ ควบคุมการเข้าถึงข้อมูล เช่น การพิสูจน์ตัวจริง และการเข้ารหัสลับเข้าช่วย

5    ระบบอีคอมเมิร์ซบนเว็บ เป็นการทำาธุรกรรมการซื้อขายภายใต้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งใน

         รูปแบบ B2B, B2C หรือ C2C แต่่การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นรูปแบบ

         B2B ของการจัดซื้อวัตถุดิบ และด้วยจำนวนครั้งของการเข้าถึงข้อมูลที่เพิ่มขึ้น ทำาให้มี

        การปรับปรุงในด้านการสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้การพัฒนาระบบการจ่ายชำระหนี้ที่ดีและ

         การเพิ่มความมั่นคงของข้อมูล

        สรุป

       การรวมตัวส่วนประกอบต่างๆอย่างเหมาะสม เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในส่วนการจัดการข้อมูลเกิดขึ้น ภายใต้กิจกรรมต่างๆ ภายใต้โซ่คุณค่าขององค์การโดยจำแนกระบบสารสนเทศออกเป็นระบบ สารสนเทศตามหน้าที่งาน ระบบสารสนเทศวิสาหกิจ และระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ โดยมุ่งเน้้นการบูรณาการระบบสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยอาศัยเทคโนโลยีของระบบบนเว็บ (Web-base System)

 โดย  ดวงดาว จำปาทอง

แบบฝึกหัดบทที่ 3

แบบฝึกหัดบทที่3

 
1. วัตถุประสงค์ของการวางแผนระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์คืออะไร
ตอบ การวางแผนการปฏิบัติงานในระยะยาวและระยะสั้นเพื่อนำมาใช้ในการสนับสนุนการดำเนินงานในเชิงรุกเพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน
2. จงอธิบายแนวโน้มของการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
ตอบ การ นำหรือการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศผู้ใช้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยว กับเทคโนโลยีสารสนเทศมากที่สุดเนื่องจากเป็นงานที่ละเอียดอ่อนและมีความซับ ซ้อนสูง
3. จงยกตัวอย่างการใช้แผนกลยุทธ์ด้านสารสนเทศของอีคอมเมิร์ช
ตอบ การ ประกอบธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ที่เป็นรูปแบบของการสับ เปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การจัดการโซ่อุปทาน การขายปลีกทางอิเล็กทรอนิคส์ ตลาดอิเล็กทรอนิคส์ รัฐบาลอิเล็กทรอนิคส์ การพาณิชย์แบบเคลื่อนที่ และการพาณิชย์แบบร่วมมือ
4. หน่วยงานของรัฐบาลมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในลักษณะใด
ตอบ การติดต่อสื่อสารและการไหลเวียนข้อมูล
5. จงระบุถึงผลประโยชน์ที่องค์การควรจะได้รับอันสืบเนื่องมาจากการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ
ตอบ 1. เป็น การสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้โดยบุคลากรสามารถเรียนรู้การใช้ชุดคำสั่งของ ระบบประยุกต์เพื่อการปฏิบัติงานที่เกิดผลประโยชน์อย่างต่อเนื่อง
2. เป็นการสร้างความยืดหยุ่นการปฏิบัติงาน การัดการ และการตัดสินใจ
3. เป็นการสร้างและธำรงรักษาความสามารถในการแข่งขันธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
4. เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับองค์การทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. เป็นการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานและทรัพยากรที่ซ้ำซ้อนลง
6. เป็นการเพิ่มคุณภาพของสินค้าหรือบริการเพื่อให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้
7. เป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างองค์การที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับองค์การที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6. การจัดซื้อซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ขององค์การขนาดเล็กจะต้องพิจารณาสิ่งใดบ้าง
ตอบ ควร เลือกซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจนั้นๆ ซึ่งถ้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองแล้วนั้น ความต้องการข้อมูลมักจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อาจเลือกใช้แนวทางการใช้บริการภายนอกหรือการพัฒนาระบบขึ้นใช้งานในธุรกิจการ เองก็ได้แล้วแต่ความพร้อมในด้านต่างๆ ของธุรกิจ
7. ข้อได้เปรียบของการใช้บริการภายนอกเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นใช้ในองค์การคืออะไร
ตอบ คือ รูปแบบของการจัดจ้างองค์การภายนอกให้ทำการพัฒนาซอฟแวร์เชิงพาณิชย์จัดอยู่ใน รูปแบบสนับสนุนจากผู้ขายซึ่งก็คือ ซอฟแวร์เชิงพาณิชย์ที่ถูกสั่งทำขึ้นโดยผ่านการอกแบบการทำให้เกิดผลและการ บำรุงรักษาซอฟแวร์ที่สนองตอบความต้องการของลูกค้า
8. วิธีการพัฒนาระบบรูปแบบใดที่สอดคล้องกับวิธีการพัฒนาระบบจากบนลงล่าง
ตอบ วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
9. วิธีการพัฒนาระบบใดที่เน้นความร่วมมือของผู้ใช้ในการพัฒนาระบบใดมากที่สุด
ตอบ วิธีการพัฒนาระบบแบบร่วมมือ
10. เพราะเหตุใดการใช้แบบจำลองน้ำตกจึงถือเป็นการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
ตอบ เนื่องจากหากต้องการพัฒนาระบบขึ้นมาใหม่มักใช้วิธีการพัฒนาแบบจำลองน้ำตก เนื่องจากว่าแบบจำลองน้ำตกเป็นวิธีการที่มีความละเอียดมากที่สุดเพราะหากว่า ภายในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งมีความผิดพลาดแล้วจะต้องกลับมาแก้ไขใหม่ตั้งแต่ ต้นซึ่งแตกต่างจากวิธีอื่นๆ
11. เทคนิคแผนภาพกระแสข้อมูลมักใช้ในขั้นตอนใดของการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ต่อผู้ใช้และทีมงานพัฒนาระบบอย่างไร
ตอบ การ ติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบและมีประโยชน์ ต่อผู้ใช้คือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถูกต้องตรงกันทั้งผังสามารถดำเนินการพัฒนาระบบจนได้ ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ
12. จงเขียนแผนภาพกระแสงาน ของระบบทะเบียนนักศึกษาในส่วนของการลงทะเบียนเรียน การเข้าชั้นเรียนตลอดจนการวัดผลประเมินผลการเรียน



นักศึกษาลงทะเบียนเรีย
นผ่านระบบออนไลน์


นักศึกษา


คอมพิวเตอร์(อินเตอร์เน็ต)


เส้นแบ่งเขตระหว่างนักศึกษาและผู้ให้บริการ